เถาวัลย์เปรียง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens (Roxb.) Benth.
เป็นไม้เถา
องค์ประกอบทางเคมีของลำต้นเถาวัลย์เปรียงเป็นกลุ่มไอโซฟลาโวน
(isoflavone) ไอโซฟลาโวน กลัยโคซัยด์ (isoflavone glycoside)
และ
พรีนิลเลดเตดไอโซฟลาโวน (prenylated isoflavone) (อ้างอิงที่
1)
เถาวัลย์เปรียง
เป็นหนึ่งในตัวยาที่ถูกบรรจุอยู่ในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีสรรพคุณเป็นยากษัยเส้น
หรือยาแก้ปวดเมื่อย (อ้างอิงที่
2) มีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
และความปลอดภัยในการใช้เถาวัลย์เปรียง
สามารถกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
- มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (อ้างอิงที่ 1, 4)
- ช่วยลดอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง (อ้างอิงที่ 1)
- มีส่วนช่วยควบคุมและ/หรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ของร่างกาย(อ้างอิงที่ 1)
- มีความปลอดภัยในการใช้ (อ้างอิงที่ 1, 5)
เถาวัลย์เปรียงกับโรคข้อเข่าเสื่อม "โรคข้อเข่าเสื่อม"
เป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ในประเทศไทยพบผู้สูงอายุมากกว่า 6
ล้านคน
เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยพบในผู้ป่วยวัย 50 ปีขึ้นไป มากถึงร้อยละ 40
และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดเข่า
และไม่สามารถทำงานหรือดำรงชีวิตได้อย่างปกติหนึ่งในวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
คือ การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง และผู้ป่วยก็มักจะได้รับยาแก้ปวดร่วมด้วย
ซึ่งได้แก่ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDS แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญคือระคายเคือง
และทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารและยามีราคาแพง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
โดยสถาบันวิจัยสมุนไพรจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัย
สมุนไพร “เถาวัลย์เปรียง” ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
ซึ่งได้ผลดีมาก โดยพบว่า
สารสกัดจากลำต้นของเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ในการบรรเทา
อาการปวด ต้านการอักเสบ
สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบัน
เพื่อรักษาโรคปวดหลังส่วนล่างได้
ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็น
ที่เรียบร้อยแล้วขณะเดียวกัน ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง เมื่อทำการทดลอง
ความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในสัตว์
ทดลองพบว่า
มีความปลอดภัยสูง
นอกจากนี้ยังได้ทดสอบสรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับ
โรงพยาบาลศิริราช
ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้าน
อักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็พบว่า
สารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี
และมีแนวโน้มว่า ปลอดภัยกว่ายา Naproxen เพราะพบว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับยา
Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง
จุกเสียด แน่นท้อง
ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการข้างเคียงดังกล่าว(อ้างอิงที่ 3)
ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
เถาวัลย์เปรียง มีฤทธิ์ลดการอักเสบ บรรเทาอาการอักเสบ มีข้อดีคือ ไม่กัดกระเพาะ
แต่จะห้ามรับประทานในผู้ป่วยโรคตับ
คำเตือน :
อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค
ฆท. 1565/2552
ขนาด 30 แคปซูล
ราคาปกติ 320 บาท